ที่ดินบริเวณ Centerpoint ถูกกลุ่มของเสี่ยเจริญ เบียร์ช้าง คว้าสัมปทานไป ต้อนรับการออกนอกระบบ ของ ม. จุฬา ด้วยราคาเหนาะๆ ไม่ถึงหนึ่งพันล้านบาท ซึ่งทางเสี่ยเจริญก็จะพัฒนาที่ดินบริเวณเซ็นเตอร์ พอยท์ให้เป็นอาคารสูงหกชั้น มีนามว่า ดิจิตัล ซิตี้ เป็นแหล่งช๊อปปิ้ง ค้าขาย จับจ่ายใหม่ ซึ่งตาม โครงการจะเป็นแหล่งค้าสินค้าเทคโนโลยีทันสมัย พร้อมทั้งมีพื้นที่ให้วัยรุ่นทำกิจกรรมบนตัวอาคาร โดยงบประมาณการก่อสร้าง สูงถึง 289 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้าง กุมภาพันธ์ 2551โดยรายละเอียดของโครงการเป็นดังนี้ชั้น 1 (ชั้นล่าง) เป็นพื้นที่ที่มีความตื่นเต้นสนุกสนานประกอบด้วยพื้นที่ Convention Hall สำหรับจัด กิจกรรมทางการตลาด ที่มีความโอ่โถง สะดวกสบาย และมีผู้สัญจรผ่านมากที่สุดของกรุงเทพฯ นอกจาก นั้นจะเป็นศูนย์รวมสินค้าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทางด้านเกม กราฟิก และแอนิเมชันที่ทันสมัยที่สุด รวมไป ถึงร้านค้าซูเปอร์แบรนด์ที่มีสินค้าหลากหลายรูปแบบชั้นที่ 2 ออกแบบพื้นที่ เป็นศูนย์รวมของสินค้าอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพา สำหรับธุรกิจและครอบครัว อาทิ คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook ) กล้องถ่ายรูปดิจิตอล และกล้องถ่ายวิดีโอ ,อุปกรณ์ออดิโอ และ วิดีโอ( AV) แบบพกพา รวมถึงร้านค้ามัลติแบรนด์ อีกทั้ง จะจัดให้มีไซเบอร์คาเฟ่ หรือร้านกาแฟที่ทัน สมัย สำหรับเป็นที่นั่งพักผ่อนอีกด้วยสำหรับชั้นที่ 3 ออกแบบให้เป็นพื้นที่ ที่สามารถเข้า-ออกได้ อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการต่อเชื่อม กับ รถไฟฟ้าบีทีเอส โดยเป็นศูนย์รวมสินค้าแบบพกพาขนาดเล็กทุกรูปแบบ อาทิ มือถือ MP3 MP4 PDA Gadget อุปกรณ์เสริม อุปกรณ์ประกอบ กิฟต์ช็อป และร้านให้บริการทางด้านดิจิตอลและสื่อสารคมนาคม หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าใจบริการในชั้นดังกล่าว หากเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถหาซื้อสินค้า และใช้บริการได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีบริการร้านไซเบอร์คาเฟ่ที่ทันสมัยสำหรับเป็นจุดนัดพบอีกด้วยชั้นที่ 4 ออกแบบเป็นลานกิจกรรมสำหรับสร้างสรรค์สังคม พัฒนาการศึกษา เวทีคอนเสิร์ต และร้านอาหารที่ทันสมัย รวดเร็ว และสะดวกสบาย ผสมผสานกับการจัดสวนที่ให้บรรยากาศที่แตกต่างจากอาคารอื่นๆ ของสยามสแควร์ซึ่งกลุ่มของเสี่ยเจริญ ประมูลชนะกลุ่มเดิมที่ทำเซ็นเตอร์พอยท์ รวมถึงกลุ่มอื่นๆ เช่นกลุ่มมาบุญครอง กลุ่มสยามเซ็นเตอร์ ที่แม้จะเป็นตัวเก็ง และให้ราคาที่สูงกว่าแต่ก็ไม่ถูกใจทางจุฬาฯ เพราะเป็นโครงการที่ดูให้ผลตอบแทนน้อยในระยะยาวภาพของจริงที่ชนะประมูล มองจากสถานีรถไฟฟ้าจะเห็นหลังคาเป็นคลื่น ถ้ามุม Bird Eye View จากตึกศูนย์หนังสือจุฬาฯ จะเห็นหลังคาเป็นตัวหนอนเลื้อยมา"นี่คือภาพใหม่ของพื้นที่สยามเซ็นเตอร์พ้อยท์ หรือชื่อโครงการใหม่คือ "เซ็นเตอร์พ้อยท์ แอนด์ เกตเวย์ สยามสแควร์" ที่รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สินแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงหลังจากตัดสินเลือกบริษัททิพย์ พัฒนอาร์เขต ในเครือของบริษัท ที.ซี.ซี. แคปปิตอล แลนด์ ของ "เจริญ สิริวัฒนภักดี" เป็นผู้ชนะประมูล ลงทุนพัฒนาพื้นที่ที่เป็น "ไข่แดง" ของสยามสแควร์ เป็นเวลา 15 ปี ด้วยงบลงทุน 289 ล้านบาทบนพื้นที่รวม 1 ไร่ 64 ตารางวานี้ จะสว่างไสวด้วยอาคาร 4 ชั้น หลังคาก่อสร้างแบบ Free Form ไม่ใช่รูปทรงเรขาคณิต แต่จะคล้ายคลื่น และทั้งหมดใช้วัสดุก่อสร้างที่ทันสมัยที่สุด คือกระจก อะลูมิเนียม และหลังคาผ้าใบ ภายในอาคารมีร้านค้าปลีก โดยเฉพาะชั้น 2 และชั้น 3 ที่ไม่ใช่แค่เสื้อผ้า และอาหาร แต่จะมีสินค้าไอที เพราะสยามสแควร์ยังไม่มีแหล่งสินค้าไอที แต่สินค้าไอทีที่นี่จะเน้นรุ่นใหม่ล่าสุดเพื่อตอบสนองลูกค้าสยามสแควร์จุดเด่นคือชั้นบนสุด เป็นลานกว้าง และสวนต้นไม้ ที่เรียกว่า Roof Garden ส่วนชั้น 3 ต่อเชื่อมกับ Digital Gateway หรือทางเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และชั้นล่างสุดคือลานแสดงเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็น Digital Convention Hall เป็นที่สำหรับสิ่งที่ทันสมัยในโลกจะมาแสดง เหมือนศูนย์แสดงนิทรรศการและด้วยจุดเด่นของโครงสร้างที่เป็นหลังคากระจก 2 ชั้น (Double Glazing) มีช่องว่างให้ลมผ่าน ทำให้สามารถประหยัดพลังงาน ผนวกกับรูปแบบโดยรวมที่ทันสมัย และความน่าเชื่อถือของเงินทุน เพราะทิพย์พัฒนอาร์เขต อยู่ในเครือของธุรกิจขนาดใหญ่ มีรายได้จากหลายสาขา และเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์จากการพัฒนาพันธุ์ทิพย์พลาซาเป็นศูนย์การค้าไอที นั้น ดร.บุญสมบอกว่าจึงเป็นข้อเสนอที่เหมาะสมที่สุด สำหรับเซ็นเตอร์พ้อยท์กิจกรรมและไลฟ์สไตล์ในอนาคตของเซ็นเตอร์พ้อยท์ตามข้อเสนอของทิพย์พัฒนอาร์เขต1. Digital Event & Media เป็นพื้นที่ที่เน้นกิจกรรมทันสมัย และมีสื่อทันสมัย รวมถึงป้ายบิลบอร์ดสำหรับสินค้าและบริการต่างๆ2. Exploration เป็นที่สำรวจและค้นพบสิ่งใหม่ๆ3. IT Spot จุดแสดงเทคโนโลยีใหม่ๆ4. Innovative Effects แหล่งสะท้อนนวัตกรรมใหม่ๆ5. Freedom & Uplifting ให้ความรู้สึกอิสระ และเบิกบานใจความเปลี่ยนแปลงที่เซ็นเตอร์พ้อยท์ เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาพื้นที่ที่ ดร.บุญสมบอกว่า ได้วาง Positioning ของสยามสแควร์ให้เป็น "Walking Street Mall" แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีคอนเซ็ปต์ให้ความสำคัญกับคนเดินเท้า หรือที่เรียกว่า Pedestrian Priority โดยการปรับภูมิทัศน์ให้ร่มรื่น และไม่มีรถวิ่งผ่านในพื้นที่ จากเดิมภาพของสยามสแควร์จะมีเพียงตึกแถว และบางมุมเป็นมุมอับ ซอกซอยที่ภูมิทัศน์ไม่ดีนัก เช่น ที่วัยรุ่นเรียกกันว่าตรอกหนูดำ และ ซอยแมลงสาบและส่วนสุดท้ายที่เตรียมประมูลหาผู้รับเหมา คือบริเวณบล็อก L หรือบริเวณร้านสุกี้แคนตัน ก่อสร้างเป็นอาคารจอดรถ 10 ชั้น สำหรับจอดรถได้ 800 คัน งบลงทุน 800 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน มี Sky Walk เชื่อมต่อมาจากรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งพื้นที่นี้ในอนาคตหลังก่อสร้างอาคารจอดรถเสร็จแล้ว จะประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างโรงแรมขนาด 3 ดาวครึ่ง ขนาด 25 ชั้น 400 ห้อง โดย 3 ชั้นล่างจะเป็นร้านค้า และโรงเรียนกวดวิชา